การเตรียมความพร้อมและรับมือกับภัยพิบัติในช่วงฤดูฝน


เกษตรหนองบัวลำภู เตรียมความพร้อมป้องกันและลดผลกระทบของพื้นที่การเกษตรจากสถานการณ์ภัยพิบัติในช่วงฤดูฝน ปี 2567

นายอำพน ศิริคำ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า จากรายงานสภาพอากาศตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศของประเทศไทยราย 3 เดือน (ก.ค. – ก.ย. 67) คาดว่าช่วงปลายเดือนกรกฎาคมไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2567 จะมีฝนตกชุกมากขึ้น เนื่องจากได้รับอิทธิพลของความกดอากาศต่ำบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมและอาจมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาใกล้หรือเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือลักษณะดังกล่าวนี้ อาจส่งผลให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งหรือน้ำท่วมฉับพลันได้จากสถานการณ์ดังกล่าว สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภูจึงร่วมวางแผนกับหน่วยงานบูรณาการในพื้นที่ และได้แจ้งแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติในช่วงฤดูฝนปี 2567 คือ การลดปริมาณความเสียหายทางเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งจะทำให้ลดงบประมาณในการช่วยเหลือ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ และแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้าน ดังนี้

ระยะที่ 1 ก่อนเกิดภัย ได้แก่ ด้านการป้องกัน และด้านเตรียมความพร้อม

ระยะที่ 2 ขณะเกิดภัย ได้แก่ ด้านการเผชิญเหตุ

ระยะที่ 3 หลังเกิดภัย ได้แก่ ด้านการฟื้นฟู

โดยใช้กลไกการบริหารจัดการภัยพิบัติผ่านศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืช ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนปี 2567 ดังนี้

1. การติดตามสภาพอากาศรายวัน วิเคราะห์ และประเมินแนวโน้มจากชุดข้อมูลสภาพอากาศ สภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทราบถึงความเปราะบางและล่อแหลมในอนาคต (ช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2567) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พื้นที่การปลูกข้าวใกล้เก็บเกี่ยว รวมถึงพืชไร่ พืชสวนอื่น ๆ ของพื้นที่ ได้แม่นยำ และสื่อสาร ชุดข้อมูลความเสี่ยง ข่าวสาร ความรู้เพื่อการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบให้แก่ชุมชนและเกษตรกรเพิ่มความถี่ของการสื่อสารอย่างเข้มข้นในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าใจสถานการณ์และบริหารความเสี่ยงของตนเอง

2. การติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด กระตุ้นการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในสถาณการณ์และแนวโน้ม/ผลกระทบให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสื่อสารในทุกช่องทาง ทั้งโซเซียลมีเดีย เสียงตามสาย สื่อบุคคล วัด โรงเรียน และเจ้าหน้าที่ทุกระดับ

3. การสำรวจและสอบทานรายการทรัพยากรที่จำเป็นและมีความพร้อมในการใช้งานตลอดเวลา เมื่อเกิดภัยพิบัติสามารถจัดเจ้าหน้าที่พร้อมทรัพยากรที่จำเป็น ลงพื้นที่ติดตาม ประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและเน้นย้ำการเข้าพื้นที่ประสบภัยพิบัติ โดยการสำรวจประเมินผลกระทบเบื้องต้น การให้คำแนะนำเตรียมการฟื้นฟู

4. การรายงานสถานการณ์เหตุด่วนฉุกเฉิน ผ่านทางไลน์ “Doae Express” และติดตามการรายงานพื้นที่การเกษตรประสบภัยและคาดว่าจะเสียหาย ผ่านระบบข้อมูลเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช

5. การปฏิบัติงานร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ เพื่อทำข้อมูลประกอบการพิจารณาประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และวางแผนการสำรวจความเสียหาย เพื่อเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.)


การจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร (KM) : กล้วยหอมทอง


ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล วันที่ 12 สิงหาคม 2567


ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2567 ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th ในระหว่างวันที่ 11 – 13 สิงหาคม 2567

Scroll to Top